วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิถีสู่ชุมชนพอเพียง

                                     บันทึกการอ่าน

                          วันที่ ๗                เดือน ธันวาคม                พ.ศ. ๒๕๕๘
                          ที่มา : เสรี  พงษ์พิศ                                   ชื่อเรื่อง : วิถีสู่ชุมชนพอเพียง
                          พิมพ์ครั้งที่ ๑
                          สำนักพิมพ์ : บริษัท พลังปัญญา จำกัด
                          หน้า ๑-๑๓
                              เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า พึ่งพาตนเองได้ ซึ่งไม่ได้แปลว่าไม่ต้องพึ่งใคร ต้องทำกินเอง ทำใช้เองหมดทุกอย่าง ไม่ได้แปลว่าต่อไปนี้ไม่ต้องซื้อขายอะไรอีก แต่หมายความว่าทำอย่างไรจะทำกินทำใช้เองบ้าง ทำอย่างไรจะจัดการชีวิตของตนเองให้พึ่งพาตนเองให้มากขึ้น พึ่งตลาด พึ่งคนอื่นให้น้อยลง จะทำอะไรเพื่อทดแทนการซื้อจากตลาดหรือจากการขอของคนอื่น จะหาวิธีดูแลสุขภาพตนเองให้ดีแทนที่จะหวังพึ่งหมอพึ่งยาอย่างเดียว  "ลุงประยงค์ รณรงค์" ผู้นำเกษตรกรชาวตำบล ไม้เรียง อำเภอ ฉวาง จังหวัด นครศรีธรรมราช ท่านมีหลักการแนวคิดตามแนวที่ในหลวงท่านทรงสอนไว้ว่าไม่ต้องมากถึงร้อยละ ๘๐ หรือ ร้อยละ ๕๐ หรอก เพียงร้อยละ ๒๕ ก็พอแล้ว เราจะทำได้หรือไม่ ถ้าทำได้ เราก็จะอยู่อย่างพอเพียง คือพึ่งตนเองได้และมีความสุข โดยแบ่งหลักการนำมาปฎิบัติอยู่ ๓ ข้อหลักๆได้แก่  ๑. พอดีพองาม คือ การกินพอดี อยู่พอดี มีคุณธรรม มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชน ระหว่างคนกับธรรมชาติ
            ๒. ความเรียบง่าย คือ ความจำเป็นหรือควาต้องการ คุณค่าหรือมูลค่า ความร่วมมือหรือการแข่งขัน
            ๓. คุณธรรม คือ ความสมดุล จิตอาสาเพื่อส่วนรวม ปัญญา ความกล้าหาญ ความเพียรทน


2 ความคิดเห็น: