วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กล้วยไม้

                                         บันทึกการอ่าน

                      วันที่ ๒๙           เดือน พฤศจิกายน           พ.ศ. ๒๕๕๘
                      ที่มา :  กานติมา รัศมีเรืองรอง                  ชื่อเรื่อง :  กล้วยไม้
                      พิมพ์ครั้งที่ ๑ 
                      สำนักพิมพ์ : บริษัท ไทยวัฒนาพานิช
                      หน้า :  ๔๑-๕๒
                                
                           ดอกกล้วยไม้ หรือ เอิ้อง  เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันสวยงาม เป็นพืชไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน สามารถนำมาประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือน จัดแต่งสวน ได้อีกด้วย แหล่งกำเนิด กล้วยไม้ที่สำคัญมีอยู่ ๒ แหล่ง ใหญ่ๆ คือ  " ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค" กล้วยไม้ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้วยไม้ เลี้ยงต้นกล้วยไม้จนกระทั่งให้ดอก กล้วยไม้มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบต่างๆได้แก่
            ๑. กล้วยไม้อากาศ คือ กล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่นโดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น 
            ๒. กล้วยไม้ดิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดิน
            ๓. กล้วยไม้หิน คือ กล้วยไม้ที่เกาะอยู่ตามโขดหิน   
 
       
                       

เคยสงสัยมั้ย ? ธรรมะ

                                      บันทึกการอ่าน

               วันที่ ๒๙             เดือน พฤศจิกายน              พ.ศ. ๒๕๕๘
               ที่มา : ชัยพัฒน์ ทองคำบรรจง                     ชื่อเรื่อง : เคยสงสัยมั้ย ? ธรรมะ
               พิมพ์ครั้งที่ ๑                                            
               สำนักพิมพ์ : บริษัท แอสมีเดีย จำกัด
               หน้า ๑-๒๓

                คำว่า ธรรมะ  หรือ ธัมมะ พระพุทธโฆษณาจารย์ได้ให้ความหมายไว้ ๔ ประการคือ

        ๑. คุณะ ได้แก่ ความประพฤติที่ดีงาม

        ๒. เทศนา ได้แก่ คำสั่งสอน คำแนะนำทางศีลธรมม

        ๓. ปริยัติ ได้แก่ลักษณะคำสอนของพระพุทธเจ้า ๙ แบบ

        ๔. นิสสัตต-นิชชีวะ ได้แก่กฎแห่งเอกภพที่มิใช่สัตว์มิใช่บุคคล หรือกฎธรรมชาติ 

                  ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้จำแนกธรรมไว้ ๔ ประเภทเช่นเดียวกันคือ

        ๑. ธรรมะ คือ หน้าที่และการปฎิบัติตามหน้าที่

        ๒. ธรรมะ  คือ ผลที่เกิดจากการปฎิบัติตามหน้าที่

        ๓. ธรรมะ คือ ความจริงที่ปรากฎ

        ๔. ธรรมะ คือ ธรรมชาติทั้งปวง

                    สรุป ธรรมะ หมายถึง ระเบียบกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ด้วยตัวเองในธรรมชาติ พระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้ค้นพบ ปฎิบัติตาม เกิดผลที่ต้องการแล้วประกาศให้คนอื่นรู้ เมื่อคนอื่นรู้แล้วปฎิบัติตามก็เกิดผล อย่างเดียวกัน        

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เล่าเรื่องเมืองพิษณุโลก

                                             บันทึกการอ่าน

        วันที่  ๒๔          เดือน  พฤศจิกายน            พ.ศ. ๒๕๕๘
        ที่มา : นายธีระ ต.สุวรรณ                            ชื่อเรื่อง : เล่าเรื่องเมืองพิษณุโลก
        พิมพ์ครั้งที่ ๑
        สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด
        หน้า  ๑-๑๕

                    ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่ในจังหวัดพิษณุโลกนี้ กล่าวได้ว่ามีคุณค่าทั้งในแง่ขุมทรัพย์ทางปัญญา และการริเริ่มสร้างสรรค์อยู่ในตัวเองสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่ยึดมั่นอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งโน้มทำให้ผู้คนในย่านถิ่นมีระบบความคิดอยู่ในกรอบของความถูกต้องและสร้างสรรค์ แม้ว่าเมืองพิษณุโลก จะมีการอยู่อาศัยของคนหลายชาติพันธ์ แต่การอยู่อาศัยของคนกลายชาติพันธุ์ได้ส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางภูมิปัญญา และสีสันที่คลุกเคล้ากับธรรมชาติแวดล้อมอย่างลงตัว ยกตัวอย่างภูมิปัญญาท้องถิ่น  เครื่องจักรสานบ้านวังกร่าง ตัวอย่างของภูมปัญญาที่นำมากล่าวใที่นี้ บ่งบอกให้รู้ว่าคนพิษณุโลก ใช้ปัจจัยแวดล้อมรอบข้างมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ต่อสังคม หลายเรื่องราวชี้ให้เห็นว่าเพราะดารอยู่ร่วมกันของคนในสังคมไม่เอารัดเอาเปรียบ และเอื้ออาทรต่อกัน จึงกลายเป็นความสุขของคนในท้องถิ่นไม่ต้องพะวงกับเรื่องอื่นใด และใช้เวลาที่มีประดิษฐ์ผลงาน พร้อมกับตรึกตรองความคิด จนเกิดเป็นผลดีโดยรวม จึงทำให้เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองที่น่าอยู่อีกเมืองหนึ่ง

การทำศิลปะเครื่องกระดาษ

                                      บันทึกการอ่าน

       วันที่  ๒๓              เดือน  พฤศจิกายน            พ.ศ. ๒๕๕๘
       ที่มา :  เพ็ญพร  ชไมพรพิพัฒน์                      ชื่อเรื่อง : การทำศิลปะเครื่องกระดาษ
       พิมพ์ครั้งที่ ๒                                                            
       สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
       หน้า  ๓๕-๔๑

                        ศิลปหัตกรรมในท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อของอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี นอกจากเครื่องปั้นดินเผาปากเกร็ดแล้วยังมีผลงานทำมือชิ้นเยี่ยมอีกประเภทหนึ่งนั่นคือศิลปะ"เครื่องกระดาษ" โดยใช้กระดาษอังกฤษหรือทองอังกฤษ ( กระดาษอังกฤษหรือทองอังกฤษ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕ อธิบายไว้ว่าเป็นคำนาม ใช้เรียกโลหะชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบางๆ สีคล้ายทองคำหรือสีอื่นๆก็มี ใช้สลักหรือปรุเป็นลายประดับเครื่ิองศพ ) ซึ่งผู้สร้างสรรค์งานอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทนี้เหลือเพียงผู้เดียวในประเทศไทยเท่านั้น ท่านคือ " พันเอกชาติวัฒน์ งามนิยม" ปัจจุบันท่านเป็นผู้อำนวยการกองกำลังพล ศูนย์รักษาความปลอดภัยกองบัญชาการทหารสูงสุด แม้จะต้องทำงานประจำอันเป็นงานราชการซึ่งมีความรับผิดชอบสูง แต่ท่านยังยังอุทิศตนและเวลาที่มีอยู่ไม่มากในแต่ละสัปดาห์ให้แก่งานทางศาสนา ซึ่งคืองานสร้างสรรค์ศิลปะเครื่องกระดาษอันเป็นมรดกแผ่นดินชิ้นเอกของชาวไทยรามัญ งานศิลปะเครื่องกระดาษที่ พันเอกชาติวัฒน์ งามนิยม สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อพระพุทธศาสนานั้นมีมากมายไม่ว่าจะเป็น  การทำโลเหม การทำธงตะขาบ การทำปราสาทในการปลงศพพระมอญ  เป็นต้น
                                                                             

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คุณค่าของดอกไม้

                                           บันทึกการอ่าน

              วันที่  ๑๘   เดือนพฤศจิกายน    พ.ศ. ๒๕๕๘
              ที่มา : รจนา แย้มแก่นจันทร์                    ชื่อเรื่อง :   คุณค่าของดอกไม้
              พิมพ์ครั้งที่ ๒  พ.ศ. ๒๕๓๘                      
              สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด
              หน้า ๒๑ - ๔๑

                              ดอกไม้ที่เห็นอยู่ในโลกนี้คืออาภรณ์ธรรมชาติที่ประดับโลกของเราให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น เป็นเครื่องหมายแห่งความรัก ความสุข ความสดชื่นช่วยทำให้จิตใจที่ขุ่นมัว เคร่งเครียด กลับผ่องใสเบิกบาน สดชื่นสบายตา ให้ความหอมชื่นใจ ให้ความหรูหราในวันพิเศษต่างๆ ให้ความภูมิใจสำหรับผู้ที่จัดหา และตกแต่งสถานที่ต่างๆให้เกิดความงาม ให้ความรู้สึกว่าได้รับการต้อนรับ ใช้เป็นสํญลักษณ์ สีของดอกไม้ ลักษณะของดอกไม้ ชื่อของดอกไม้ ใช้เป็นสัญลักษณ์ในวันสำคัญต่างๆ  ใช้เพื่อบูชาจัดใส่แจกันประดับโต๊ะหมู่บูชา และประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ผู้ที่ประกอบอาชีพจัดทำดอกไม้ทั้งในงานทุกข์และงานสุข เช่นจัดตกแต่งบริเวณงานศพ จัดดอกไม้ในงานแต่งงาน ถ้าเราได้รู้คุณค่าของดอกไม้ได้มากถึงขนาดนี้จะทำให้เราหลงใหลในความสวยงามของดอกไม้มากยิ่งขึ้น

ต้นกล้วย

                                             บันทึกการอ่าน

                                                 
               วันที่           ๑๘         เดือน พฤศจิกายน            พ.ศ. ๒๕๕๘
               ที่มา : จันทนา เพชรสงคราม                       ชื่อเรื่อง : ต้นกล้วย
               พิมพ์ครั้งที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๔๓                        
               สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด
               หน้า ๑๕-๓๕      

                    ต้นกล้วย เป็นพืชที่ปลูกง่ายและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายความสูงประมาณ ๕-๖ เมตร มีลำต้นสีเขียวทั้งต้นและมีผลสีเหลืองอร่ามหอมน่ารับประทาน ต้นกล้วยเป็นต้นไม้ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น เป็นพืชไม้ล้มลุก จัดอยู่ในพวกไม้ผล ต้นกล้วยมีหลายชนิด บางชนิดบางคนก็ยังไม่เคยเห็นส่วนในเมืองไทยมีต้นกล้วยอยู่ ๖ ชนิด ได้แก่ กล้วยหอม กล้วยนำ้ว้า กล้วยหักมุก กล้วยไข่ กล้วยเล็บมือนาง กล้วยตานี ความแตกต่างของกล้วยแต่ละประเภทนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผลซึ่งชี้วัดว่าเป็นกล้วยชนิดใด ไม่ว่าจะเป็นกล้วยชนิดใดเราจะเรียกใบกล้วยว่า " ใตอง " เหมือนกันหมด ส่วนประกอบของต้นกล้วยที่เรียกว่า " ใบตอง "  นั้นมีประโยชน์อย่างมากอย่างเช่น ใบตองแห้งในปัจจุบันนี่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้โดยประดิษฐ์เป็นเครื่องประดับที่สวยงามของสตรี ใบตองที่เขียวสดก้นำมาห่อขนมได้ "ก้านใบตอง" ก็นำมาประดิษฐ์เป็นของเล่นให้ลูกหลานได้เล่นได้ " หยวกกล้วย" ใช้นำมาประกอบอาหารได้หลายอย่ง เช่นแกงเหลืง จิ้มนำ้พริก และอื่นๆ