วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เคยสงสัยมั้ย ? ธรรมะ

                                      บันทึกการอ่าน

               วันที่ ๒๙             เดือน พฤศจิกายน              พ.ศ. ๒๕๕๘
               ที่มา : ชัยพัฒน์ ทองคำบรรจง                     ชื่อเรื่อง : เคยสงสัยมั้ย ? ธรรมะ
               พิมพ์ครั้งที่ ๑                                            
               สำนักพิมพ์ : บริษัท แอสมีเดีย จำกัด
               หน้า ๑-๒๓

                คำว่า ธรรมะ  หรือ ธัมมะ พระพุทธโฆษณาจารย์ได้ให้ความหมายไว้ ๔ ประการคือ

        ๑. คุณะ ได้แก่ ความประพฤติที่ดีงาม

        ๒. เทศนา ได้แก่ คำสั่งสอน คำแนะนำทางศีลธรมม

        ๓. ปริยัติ ได้แก่ลักษณะคำสอนของพระพุทธเจ้า ๙ แบบ

        ๔. นิสสัตต-นิชชีวะ ได้แก่กฎแห่งเอกภพที่มิใช่สัตว์มิใช่บุคคล หรือกฎธรรมชาติ 

                  ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้จำแนกธรรมไว้ ๔ ประเภทเช่นเดียวกันคือ

        ๑. ธรรมะ คือ หน้าที่และการปฎิบัติตามหน้าที่

        ๒. ธรรมะ  คือ ผลที่เกิดจากการปฎิบัติตามหน้าที่

        ๓. ธรรมะ คือ ความจริงที่ปรากฎ

        ๔. ธรรมะ คือ ธรรมชาติทั้งปวง

                    สรุป ธรรมะ หมายถึง ระเบียบกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ด้วยตัวเองในธรรมชาติ พระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้ค้นพบ ปฎิบัติตาม เกิดผลที่ต้องการแล้วประกาศให้คนอื่นรู้ เมื่อคนอื่นรู้แล้วปฎิบัติตามก็เกิดผล อย่างเดียวกัน        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น